วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ


อาการปวดส้นเท้า เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อเท้า เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ กระดูกงอกที่ฝ่าเท้าหรือที่เส้นเอ็นร้อยหวาย กระดูกเท้าบิดผิดรูป โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ เป็นต้น
การอักเสบของเอ็นฝาเท้าถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยเช่นกัน สาเหตุโดยทั่วไปยังไม่ทราบได้อย่างชัดเจนนัก แต่เชื่อว่าเกิดจากความเสื่อมสภาพ ร่วมกับการใช้งานที่มากเกินไป
อาการเอ็นฝ่าเท้าอักเสบนี้มักจะพบได้บ่อยในช่วงอายุประมาณ 40-70 ปี ผู้ชาย วัยทำงาน ร่วมกับมีน้ำหนักตัวมาก ยิ่งทำให้มีโอกาสเกิดโรคได้มากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
- อ้วน
- ทำงานที่ต้องยืนหรือเดินบนพื้นแข็งๆนานๆ
- ออกกำลังกายโดยไม่ได้อบอุ่นร่างกาย
- การมีฝ่าเท้าแบนหรือผิดรูปจากปกติ
- การใช้รองเท้าที่ไม่ถูกลักษณะ


อาการและอาการแสดงของโรค
อาการโดยทั่วไปที่พบของการเกิดเอ็นฝ่าเท้าอักเสบคือ อาการปวดบริเวณส้นเท้าในช่วงเวลาตื่นตอนเช้าหรือเวลานั่งพักนานๆ แล้วก้าวเดิน อาการเหล่านี้จะดีขึ้นหลังจากได้เดินออกกำลังไปได้สักพัก หรือการหลีกเลี่ยงการเดินลงน้ำหนัก
ในการตรวจร่างกาย อาจจะสังเกตเห็นเรื่องของการบวมแดงของข้างที่มีอาการจะมีมากกว่าข้างปกติได้ การกระดกข้อเท้าขึ้นหรือกดส้นเท้าจะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่อข้อเท้า ข้อเข่าหรือหลังได้จากการเดินที่ผิดปกติ

การถ่ายภาพรังสีอาจเห็นกระดูกงอกได้ในบางคนแต่อาจไม่สัมพันธ์กับอาการปวดจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีทุกคน
โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยเอ็นฝ่าเท้าอักเสบจะค่อยๆ ดีขึ้น ด้วยการรักษาด้วยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด แต่อาจจะต้องใช้เวลารักษานานหลายเดือน แต่ถ้าอาการก็ยังไม่ดีขึ้น อาจจะต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ซึ่งจะต้องใช้เวลารักษาหลังผ่าตัดอีก 2 - 6 เดือนเป็นอย่างน้อย อาการจึงจะดีขึ้น
สำหรับผู้ที่มีอาการนานกว่า1ปี มีน้ำหนักมาก การรักษามักจะได้ผลไม่ค่อยดี ต้องใช้เวลานาน
แนวทางการรักษาด้วยตนเอง
1. ลดกิจกรรมที่ทำให้ปวดและควรออกกำลังที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้ามากนัก
2. บริหารยืดกล้ามเนื้อน่องและเอ็นฝ่าเท้า
3. นวดฝ่าเท้าหรือใช้ผ้าพันที่ฝ่าเท้า
4. ใส่รองเท้าที่เหมาะสมขนาดพอดีไม่หลวมเกินไป มีพื้นรองเท้าที่นุ่ม และมีแผ่นรองรับอุ้งเท้า
5. หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่า
6. ประคบด้วยความร้อนหรือความเย็น เช่นใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น ประคบบริเวณที่ปวดประมาณ 10 - 15 นาที หรือ ประคบด้วยความร้อน 4 นาที สลับกับความเย็น 1 นาที ก็ได้
7. ถ้าปวดมากรับประทานยาแก้ปวดประคบร้อน หรือใช้ยานวด
8. ลดน้ำหนัก
แนวทางการรักษาโดยแพทย์
- รับประทานยาแก้ปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
- ฉีดยาสเตียรอยด์ บริเวณจุดที่
- ทำกายภาพบำบัด 2 - 3 ครั้งต่ออาทิตย์ อย่างน้อย 6 อาทิตย์
- ใส่เฝือกชั่วคราวในตอนกลางคืน หรือ ถ้าเป็นมาก อาจต้องใส่เฝือกตลอดทั้งวัน
- ผ่าตัดทำก็ต่อเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้ว อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังรับการรักษาอย่างเต็มที่ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 6 - 9 เดือน หรือ เกิดจากเส้นประสาทบริเวณฝ่าเท้าถูกกดทับ
วิธีบริหาร
- เมื่อตื่นนอนให้นวดหรือประคบฝ่าเท้าและน่องด้วยความร้อน ก่อนเริ่มบริหาร
การบริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้อ
- ใช้ผ้าคล้องที่ปลายเท้าแล้วใช้มือดึงให้ข้อเท้ากระดกขึ้น ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อยลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง

- ยืนห่างจากผนังสัก 3-4 ฟุต มือยันผนังแล้วเอนตัวไปให้ชิดกับผนัง ค้างไว้ นับ 1-10 ทำซ้ำ 10 ครั้ง

- ยืนหรือ นั่ง แล้วใช้อุ้งเท้าเหยียบ วัสดุกลม ๆ
การบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ
- เกร็งกล้ามเนื้อ กระดกข้อเท้าขึ้นมากที่สุด ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อยลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง
- เกร็งกล้ามเนื้อ งอข้อเท้าลงมากที่สุด ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อยลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น