อาการชาของมือเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเสื่อมของกระดูกต้นคอ ชาจากการเสื่อมของเส้นประสาทเองจากโรคประจำตัวต่างๆเช่น เบาหวาน
หรือเกิดจากการกดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือจากการหนาตัวปลอกหุ้มเอ็นบริเวณข้อมือ
การกดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือจากการหนาตัวปลอกหุ้มเอ็นบริเวณข้อมือ(Carpal tunnel syndrome; CTS) ถือเป็นสาเหตุที่พบบ่อยสาเหตุหนึ่ง มักจะพบบ่อยในช่วงวัยกลางคน(30-60ปี) ผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดได้มากกว่าผู้ชายประมาณ 2-3เท่า
สาเหตุของอาการชา 1. มีความผิดปกติของตัวเส้นประสาท เช่น เบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง 2. มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในอุโมงค์ข้อมือ เช่น ก้อนไขมัน ถุงน้ำ ก้อนเนื้องอก 3. การอักเสบของเยื่อบุข้อ เยื่อหุ้มเอ็นจากโรค เช่น เกาต์ รูมาตอยด์ 4. การบวมของเอ็นที่อยู่ภายในอุโมงค์จากการตั้งครรภ์ ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง 5. เกิดการหนาตัวของเยื่อพังผืดข้อมือ
อาการและอาการแสดงของโรค
อาการที่พบทั่วไป คือชามือข้างนั้นตามตำแหน่งที่เส้นประสาทไปเลี้ยง บางรายจะมีอาการปวดร้าวไปที่มือต้นแขนหรือไหล่ร่วมด้วย โดยทั่วไปจะมีอาการชาปลายนิ้วมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง บางคนจะมีอาการชาของนิ้วนางบางส่วนร่วมด้วย อาการชาจะเป็นๆหายๆ โดยจะมีอาการมากในเวลากลางคืน บางคนอาจต้องตื่นขึ้นมาสะบัดมือเพื่อให้อาการชามือดีขึ้น
นอกจากนี้จะมีอาการมากขึ้นในขณะทำงานที่ต้องใช้มือและข้อมือ และเมื่อมีการดำเนินของโรคต่อไปโดยไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการชาจะมีมากขึ้นถี่ขึ้น จนมีอาการตลอดเวลาและเริ่มมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ มือ
มีการลีบเล็กลง
การรักษา
ขึ้นกับอาการและความรุนแรงของโรค แนวทางการรักษามีทั้งการรักษาแบบไม่ผ่าตัดและการรักษาโดยการผ่าตัด
การรักษาแบบประคับประคอง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่มากนัก โดย 1. โดยการใส่อุปกรณ์พยุงข้อมืออยู่ในท่าทางที่เหมาะสม กระดกข้อมือขึ้นทางหลังมือเล็กน้อย 2. ปรับลักษณะการใช้งานของข้อมือให้เหมาะสม . หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวข้อมือมากเกินไป รวมทั้งการรับแรงกระแทก, การสั่นสะเทือน บริเวณข้อมือ4. รับประทานยาลดการอักเสบ ลดการบวมของเอ็นหรือเยื่อบุเอ็น 5. รับประทานยาวิตามินบี 6 6. การฉีดสเตียรอยด์ ในกรณีทานยาแล้วไม่ดีขึ้น และเป็นมาน้อยกว่า 1 ปี ได้ผลดีประมาณ 80% แต่มักจะไม่หายขาดการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งเป็นการรักษาที่หายขาด ด้วยการผ่าตัดขยายอุโมงค์ โดยตัดเยื่อพังผืด แก้ต้นเหตุ
ข้อแนะนำ - ถ้ามีอาการชาปลายนิ้ว ลองขยับข้อมือ นิ้วมือเบา ๆ ถ้ามีอาการดีขึ้นหายชาได้ - หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้มือและข้อมือมากโดยเฉพาะในท่าที่งอข้อมือมาก ๆ หรือการกระดกข้อมือมาก ๆ - การที่ใช้ข้อมือมากเกินไป การปวดชากลางคืน การเอาข้อมือวางบนหมอนอาจจะลดอาการปวดเนื่องจากเป็นท่าที่เส้นประสาทถูกกดทับน้อยลง -การบริหารมือและข้อมือเพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และเป็นการป้องกันอาการเจ็บปวดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ท่าบริหาร
หรือเกิดจากการกดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือจากการหนาตัวปลอกหุ้มเอ็นบริเวณข้อมือ
การกดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือจากการหนาตัวปลอกหุ้มเอ็นบริเวณข้อมือ(Carpal tunnel syndrome; CTS) ถือเป็นสาเหตุที่พบบ่อยสาเหตุหนึ่ง มักจะพบบ่อยในช่วงวัยกลางคน(30-60ปี) ผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดได้มากกว่าผู้ชายประมาณ 2-3เท่า
สาเหตุของอาการชา 1. มีความผิดปกติของตัวเส้นประสาท เช่น เบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง 2. มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในอุโมงค์ข้อมือ เช่น ก้อนไขมัน ถุงน้ำ ก้อนเนื้องอก 3. การอักเสบของเยื่อบุข้อ เยื่อหุ้มเอ็นจากโรค เช่น เกาต์ รูมาตอยด์ 4. การบวมของเอ็นที่อยู่ภายในอุโมงค์จากการตั้งครรภ์ ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง 5. เกิดการหนาตัวของเยื่อพังผืดข้อมือ
อาการและอาการแสดงของโรค
อาการที่พบทั่วไป คือชามือข้างนั้นตามตำแหน่งที่เส้นประสาทไปเลี้ยง บางรายจะมีอาการปวดร้าวไปที่มือต้นแขนหรือไหล่ร่วมด้วย โดยทั่วไปจะมีอาการชาปลายนิ้วมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง บางคนจะมีอาการชาของนิ้วนางบางส่วนร่วมด้วย อาการชาจะเป็นๆหายๆ โดยจะมีอาการมากในเวลากลางคืน บางคนอาจต้องตื่นขึ้นมาสะบัดมือเพื่อให้อาการชามือดีขึ้น
นอกจากนี้จะมีอาการมากขึ้นในขณะทำงานที่ต้องใช้มือและข้อมือ และเมื่อมีการดำเนินของโรคต่อไปโดยไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการชาจะมีมากขึ้นถี่ขึ้น จนมีอาการตลอดเวลาและเริ่มมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ มือ
มีการลีบเล็กลง
การรักษา
ขึ้นกับอาการและความรุนแรงของโรค แนวทางการรักษามีทั้งการรักษาแบบไม่ผ่าตัดและการรักษาโดยการผ่าตัด
การรักษาแบบประคับประคอง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่มากนัก โดย 1. โดยการใส่อุปกรณ์พยุงข้อมืออยู่ในท่าทางที่เหมาะสม กระดกข้อมือขึ้นทางหลังมือเล็กน้อย 2. ปรับลักษณะการใช้งานของข้อมือให้เหมาะสม . หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวข้อมือมากเกินไป รวมทั้งการรับแรงกระแทก, การสั่นสะเทือน บริเวณข้อมือ4. รับประทานยาลดการอักเสบ ลดการบวมของเอ็นหรือเยื่อบุเอ็น 5. รับประทานยาวิตามินบี 6 6. การฉีดสเตียรอยด์ ในกรณีทานยาแล้วไม่ดีขึ้น และเป็นมาน้อยกว่า 1 ปี ได้ผลดีประมาณ 80% แต่มักจะไม่หายขาดการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งเป็นการรักษาที่หายขาด ด้วยการผ่าตัดขยายอุโมงค์ โดยตัดเยื่อพังผืด แก้ต้นเหตุ
ข้อแนะนำ - ถ้ามีอาการชาปลายนิ้ว ลองขยับข้อมือ นิ้วมือเบา ๆ ถ้ามีอาการดีขึ้นหายชาได้ - หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้มือและข้อมือมากโดยเฉพาะในท่าที่งอข้อมือมาก ๆ หรือการกระดกข้อมือมาก ๆ - การที่ใช้ข้อมือมากเกินไป การปวดชากลางคืน การเอาข้อมือวางบนหมอนอาจจะลดอาการปวดเนื่องจากเป็นท่าที่เส้นประสาทถูกกดทับน้อยลง -การบริหารมือและข้อมือเพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และเป็นการป้องกันอาการเจ็บปวดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ท่าบริหาร

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น