วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

โรคคอเอียงแต่กำเนิด(Congenital Muscular Torticollis)


คอเอียงเป็นลักษณะที่ศีรษะเอียงจากแนวกึ่งกลาง ไปด้านใดด้านหนึ่งอาการคอเอียงในเด็กที่พบได้บ่อย ส่วนมากร้อยละ 90 เป็นชนิดไม่ร้ายแรง         มักเป็นมาแต่กำเนิดสาเหตุ ส่วนใหญ่เป็นจากกล้ามเนื้อด้านข้างคอหดสั้นลง สาเหตุอื่นพบได้น้อย เช่น ผิดปกติที่ ระบบ สมอง ตา กระดูกคอ และการอักเสบบริเวณคอ โรคคอเอียงแต่กำเนิดสาเหตุจากกล้ามเนื้อ เป็นโรคคอเอียงในเด็กที่พบบ่อยที่สุด จากกล้ามเนื้อ ด้านข้างคอ (Sternocleidomastoid) ที่เกาะยึดระหว่าง กระดูกด้านหลังหู กับส่วนหน้าของกระดูกไหปลาร้า หดสั้นลง                                      ทำให้ศีรษะเอียงไปด้านที่กล้ามเนื้อหดสั้น แต่ ใบหน้าจะบิดหันไปด้านตรงข้าม อาจเริ่มสังเกตเห็นได้ ขณะอายุน้อย สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อนี้หดสั้นลง เชื่อว่า อาจมาจากเนื้อเยื่อบริเวณคอถูกกดขณะคลอดหรือทารก อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมในครรภ์ ทำให้ใยกล้ามเนื้อ ข้างคอเสียหาย กลายเป็นพังผืด กล้ามเนื้อหดสั้นลง โรคที่ อาจพบร่วมกับคอเอียงได้แก่ ข้อสะโพกผิดปกติ เท้าผิด ปกติ อาการคอเอียงอาจพบได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 1 เดือน หลังคลอด โดยเกือบครึ่งของผู้ป่วยมีก้อนคลำได้ที่ กล้ามเนื้อข้างคอด้านที่เอียง และก้อนจะค่อยๆ ยุบไป อาการคอเอียงนี้ถ้าเป็นไม่มากอาจสังเกตเห็นยากจึงไม่ได้ พามาพบแพทย์ตั้งแต่แรก การปล่อยให้มีคอเอียงอยู่นาน อาจทำให้กระโหลกศีรษะ หรือใบหน้าด้านที่กดกับพื้นที่ นอนแบนกว่าอีกด้าน ศีรษะบิดเบี้ยวไม่สมดุล อย่างไร ก็ตามอาการคอเอียงอาจดีขึ้นได้เองในบางราย การวินิจฉัยโรคคอเอียง ถ้าระบุสาเหตุไม่ได้ชัด จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติม เช่นภาพรังสีกระดูกคอ หรือ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่นจักษุแพทย์                                          
สาเหตุ เชื่อว่าการคลอดลาบากเป็นเหตุปัจจัยทาให้กล้ามเนื้อคอของทารกถูกดึงอย่างแรงจนเกิดเลือดออก บวม เป็นก้อนในชั้นกล้ามเนื้อ ซึ่งทาให้กล้ามเนื้อคอข้างนั้นหดสั้นลง ไม่สามารถยืดได้เป็นปกติ จึงดึงรั้งใบหน้าด้านข้างและศีรษะข้างเดียวกับก้อนที่คอให้เอียงลงมา              
อาการ
     
  1. บก้อนที่คอบริเวณส่วนหน้าด้านข้าง มักพบตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุประมาณ 2 เดือน
  2. ศีรษะจะเอียงลงมาด้านเดียวกับก้อนที่คอ
  3. ทารกจะหันใบหน้าและคางไปด้านตรงข้ามกับก้อนที่คอ
  4. ไม่สามารถทาให้ศีรษะของทารกตรงได้เหมือนทารกปกติ  
  5.  ถ้าทารกไม่ได้รับการดูแลรักษาเป็นเวลานาน รูปทรงของใบหน้าทั้งสองข้างจะไม่เท่ากัน อาจเกิดคอเอียงถาวรได้                                 การวินิจฉัย                                                                                                                           ทารกที่มีประวัติคลอดลาบาก เช่น ใช้คีมหรือเครื่องดูดช่วยคลอด ต้องผ่าตัดช่วยคลอด หลังคลอดบิดามารดาหรือญาติคลาพบก้อนที่คอส่วนหน้าด้านข้าง ข้างใดข้างหนึ่ง ก้อนมีลักษณะแข็ง รูปไข่ ก้อนเดียวขนาดประมาณ 3 เซนติเมตร ไม่ยุบหายไปได้เอง ร่วมกับสังเกตุเห็นศีรษะเอียงไปด้านเดียวกับก้อนที่คอ ตั้งตรงไม่ได้ และจะหันหน้าไปทางด้านตรงข้ามกับก้อนตลอดเวลา                                                                    
    การรักษา                                                                                                                                                 
  1.  การยืดกล้ามเนื้อข้างคอที่หดสั้น ส่วนใหญ่ได้ผลดีเมื่อทำในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ผู้ดูแลควรเรียนรู้ ถึงวิธีการยืดที่ถูกต้อง เช่นจาก นักกายภาพบำบัด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อเด็ก โดยเฉพาะการยืดด้วยวิธีดัด (passive stretch) ควรหยุดทำ ถ้าเด็กดิ้นหรือฝืน การทำโดยจัดศีรษะผู้ป่วยอยู่ในท่า เงยหน้าเล็กน้อย เช่นนอนหงายบนตัก จัดให้หูข้าง ตรงข้ามกับกล้ามเนื้อหดสั้นมาสัมผัสที่ไหล่ข้างเดียวกัน และอีกวิธีโดยหันหน้าจัดให้คางสัมผัสกับไหล่ข้างที่มี กล้ามเนื้อหดสั้น แต่ละท่ายืดค้างนานประมาณนับเลข 1-10 ต่อครั้ง ติดต่อกัน 15-20 ครั้งเป็น 1 รอบ ทำประมาณ 4-6 รอบในแต่ละวัน การยืดแบบที่ให้เด็กหันศีรษะเอง (active stretch) วิธีนี้มีความปลอดภัยมากกว่า โดยต้องหาวิธีการที่จะล่อ ให้เด็กหันหน้ามาด้านที่มีคอเอียงที่มีกล้ามเนื้อหดสั้น วิธีการที่นิยมใช้ได้ผลดี เช่นการให้นม หรือล่อให้มองตามในสิ่งที่สนใจเช่นของเล่นต่างๆ การจัดตำแหน่ง ศีรษะขณะนอนหลับ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นการยืดกล้าม เนื้อ ก็เป็นอีกแนวทางที่มีการใช้กัน แต่ควรได้รับการ แนะนำถึงข้อควรระวังก่อนนำมาใช้ การใช้อุปกรณ์พยุง (Orthosis) ปรับตำแหน่ง ศีรษะ ยังไม่ใช้กันแพร่หลายนัก เนื่องจากปัญหาในการ จัดหาอุปกรณ์ และต้องใช้ในเด็กที่โตพอสมควรแล้ว                                                                                                                     
  2.  การผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหากล้ามเนื้อหดสั้น ถ้ายืดกล้ามเนื้อหดสั้นไม่ได้ผลหลังอายุ 1 ปีควร รักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อให้มีสมดุลของศีรษะและ ใบหน้าดีขึ้น การผ่าตัดมักได้ผลดีพอสมควร อายุที่ เหมาะสมที่สุดคือ 1-4 ปี ในผู้ป่วยที่มีอายุมากขึ้น การผ่าตัดอาจได้ผลไม่เต็มที่ การผ่าตัดทำได้หลายวิธี วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือการตัดปลายยึดเกาะของ กล้ามเนื้อด้านข้างคอ ทั้งสองปลาย (bipolar release) หลังผ่าตัด ผู้ป่วยบางรายอาจต้องอุปกรณ์พยุง ต่างๆ ร่วมด้วย และมักต้องการการยืดกล้ามเนื้อต่ออีก เพื่อให้คอตรงมากขึ้น และป้องกันการเป็นซ้ำ

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โรคเกาต์ เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกัน ของกรดยูริกภายในข้อ และประกอบกับการที่มีปริมาณกรดยูริกสูงด้วย คนแต่ละวัย ก็มีระดับกรดยูริกในเลือดที่แตกต่างกันได้ เช่น ผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน จะมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าคนในวัยอื่นๆ และนอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคเกาต์ มากกว่าผู้หญิงอีกด้วย โดยปกติแล้ว ร่างกายจะได้กรดยูริกมาจาก 2 แหล่ง คือ
1.ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเอง โดยการสลายตัวของเซลล์ตามอวัยวะต่างๆ แต่ในบางคนที่ป่วยเป็นโรค เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ธาลัสซีเมีย จะทำให้มีการสลายตัวของเซลล์ ในร่างกายที่มาผิดปกติ
2.จากการกินอาหารบางชนิดที่สารพิวรีนสูง ซึ่งสารชนิดนี้เมื่อกินเข้าไปแล้ว จะย่อยสลายกลายเป็นกรดยูริก ซึ่งสารพิวรีนนี้พบมากใน เนื้อสัตว์ปีก เช่น เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่างๆ
คนที่เป็นโรคเกาต์ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการจะค่อยๆ กำเริบ โดยเจ็บปวดที่ข้อเดิมก่อน แล้วจะเป็นที่ข้ออื่นๆ ตามมา จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อทั่วร่างกาย อาการปวด จะถี่ขึ้นและนานขึ้น จนเกิดอาการปวดตลอดเวลา ถ้าควบคุมไม่ได้ จะพบว่า ข้อที่เคยอักเสบบ่อยๆ กลายเป็นปุ่มก้อนขึ้นมา เนื่องจากการสะสมของ กรดยูริกภายในข้อจำนวนมาก จนบางครั้ง ข้อที่ปวดนั้น เกิดการแตกออก และมีสารขาวๆ คล้ายชอล์ก หรือยาสีฟัน ไหลออกมากลายเป็นแผลเรื้อรัง และในที่สุดข้อต่างๆ จะค่อยๆ พิการ และใช้งานไม่ได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดนิ่วในไตตามมาได้อีกด้วย


• อาหารที่มีพิวรีนน้อย ได้แก่ ธัญพืชต่างๆ ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ผัก และผลไม้เกือบทุกชนิด (0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
• อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง ได้แก่ ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ถั่วลันเตา หน่อไม้ ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม (50-100 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
• อาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง ไข่ปลา น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน กะปิ ชะอม กระถิน สะเดา เห็ด (150 มิลลิกรัมขึ้นไปต่ออาหาร 100 กรัม)


วิธีป้องกันและบรรเทา อาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์ที่ดีที่สุด คือ
การระมัดระวัง ในการเลือกรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีพิวรีนสูง เพราะว่าจะทำให้เกิด การอักเสบของข้อขึ้นอีก อาหารที่ผู้เป็นโรคเกาต์ ควรรับประทานให้มากคือ
1. อาหารจำพวกข้าว แป้ง เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานเพียงพอ ในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่ต้องเผาผลาญโปรตีน ที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อ เพื่อให้เป็นพลังงาน เพราะว่าการเผาผลาญโปรตีนในลักษณะนี้ จะทำให้มีการสลายกรดยูริกออกมา ในกระแสเลือดมากขึ้น
2. คนเป็นโรคเกาต์ ควรระวังไม่รับประทานอาหาร จำพวกเนื้อสัตว์มากเกินไป เพราะว่าเนื้อสัตว์ เป็นแหล่งของโปรตีน ทำให้เกิดกรดยูริกได้มาก เช่นเดียวกันกับการทานอาหารไม่เพียงพอ แล้วร่างกายใช้โปรตีน ที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อนั่นเอง จะทำให้เกิดอาการกำเริบได้
3. การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยป้องกันการสะสมของกรดยูริก และทำให้เกิดการขับกรดยูริก ทางปัสสาวะมากขึ้น และสามารถป้องกัน โรคนิ่วในไตได้อีกด้วย 4. นอกจากนี้ การรับประทานผัก และผลไม้ชนิดต่างๆ ให้มากขึ้นก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยให้ปัสสาวะมีสภาวะเป็นด่าง ลดความเป็นกรด ส่งผลให้เกิดการขับปัสสาวะมากขึ้น เมื่อรู้ว่าเป็นโรคเกาต์แล้ว ควรปฏิบัติตนอย่างไร กินอาหารอย่างไร อะไรที่กินได้ อะไรที่ควรหลีกเลี่ยง ก็จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้ และช่วยป้องกัน ไม่ให้เกิดอาการเรื้อรังได้อีกเช่นกัน ดังนั้น หันมาใส่ใจกับอาหาร ที่เรากินกันเสียตั้งแต่วันนี้จะดีกว่า เพื่อจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคร้ายต่างๆ

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552

tennis elbow(เอ็นข้อศอกอักเสบ)


อาการปวดบริเวณข้อศอก
เป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่งในผู้สูงวัยประมาณ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งพบได้ทั้งเพศชาย – เพศหญิง
โดยเชื่อว่าอาการปวดนี้เกิดจากมีการอักเสบของที่ยึดเกาะของเอ็นและกล้ามเนื้อที่มาเกาะที่ปุ่มกระดูกบริเวณข้อศอกด้านนอก
สาเหตุ
ส่วนใหญ่การอักเสบเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ทำงานซ้ำๆ มากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อมีการบาดเจ็บสะสม โดยเฉพาะตรงจุดที่เอ็นกล้ามเนื้อเกาะกับกระดูก ผู้ป่วยจึงมีอาการเจ็บที่ตำแหน่งดังกล่าว
การวินิจฉัย
จะเกิดการปวดบริเวณข้อศอกด้านนอกโดยอาการปวดมักจะเป็นมานานและจะมีอาการมาก เวลาออกแรงต้านการกระดกข้อมือขึ้นเวลาข้อศอกเหยียดตรง หรือจะปวดเวลาหยิบจับยกของ บิดแขนหรือกำมือแน่น บางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวไปที่แขนและมือได้ ซึ่งการปวดข้อศอกอาจจะเกิดจากเส้นประสาทกดทับร่วมด้วยได้เช่นกัน
การรักษา
ในการรักษาการอักเสบของเอ็นบริเวณข้อศอกมากกว่า 90 % ของผู้ป่วยสามารถรักษาหายได้โดยวิธีการไม่ต้องผ่าตัด

การรักษาโดยวิธีการไม่ผ่าตัด
1. การพักการใช้งาน เมื่อมีอาการปวดอักเสบร่วมกับการปรับกิจกรรมการใช้งานของแขนและมือ
2. การใช้น้ำแข็งมาประคบ เพื่อลดการปวดอักเสบ
3. การรับประทานยาลดอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ ตามคำแนะนำของแพทย์
4. การทำกายภาพบำบัด เช่นการวางแผ่นร้อน การทำอัลตร้าซาวน์ และบริหารกล้ามเนื้อ
5. การให้อุปกรณ์รัดต้นแขนเพื่อลดแรงกระชากของกล้าเนื้อ
6. การฉีดยาเสตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบซึ่งไม่ควรจะทำบ่อย เพราะว่ามีโอกาสทำให้เส้นเอ็นขาดได้

การรักษาโดยวิธีการผ่าตัด
ใช้ในรายที่ทำมานานๆ และการรักษาโดยไม่ผ่าตัดไม่ได้ผล เป็นระยะเวลา 6-12 เดือน ซึ่งผลการรักษาโดยวิธี ผ่าตัดจะส่งผลให้การรักษาดีขึ้นในระยะเวลา 8-12 เดือน

วิธีการกายบริหารเอ็นข้อศอกอักเสบ
ควรทำเมื่อไม่มีอาการปวดอักเสบเกิดขึ้น โดยหวังเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ในการออกกำลังกายอาจจะค่อยๆทำให้อาการดีขึ้นได้บ้างแต่ต้องใช้ระยะเวลา เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรที่จะเร่งรีบ หรือโหมออกกำลังจนเกินไปเพราะอาจทำให้มีอาการบาดเจ็บเกิดซ้ำขึ้นอีกได้
ในการออกกำลังกายในการยืดกล้ามเนื้ออาจจะทำค้างไว้ครั้งละ10-20วินาที ทีละ10-20ครั้ง อาจจะเช้าเย็นก่อน จากนั้นค่อยเพิ่มปริมาณและเวลาในการออกำลังกายให้มากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ


อาการปวดส้นเท้า เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อเท้า เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ กระดูกงอกที่ฝ่าเท้าหรือที่เส้นเอ็นร้อยหวาย กระดูกเท้าบิดผิดรูป โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ เป็นต้น
การอักเสบของเอ็นฝาเท้าถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยเช่นกัน สาเหตุโดยทั่วไปยังไม่ทราบได้อย่างชัดเจนนัก แต่เชื่อว่าเกิดจากความเสื่อมสภาพ ร่วมกับการใช้งานที่มากเกินไป
อาการเอ็นฝ่าเท้าอักเสบนี้มักจะพบได้บ่อยในช่วงอายุประมาณ 40-70 ปี ผู้ชาย วัยทำงาน ร่วมกับมีน้ำหนักตัวมาก ยิ่งทำให้มีโอกาสเกิดโรคได้มากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
- อ้วน
- ทำงานที่ต้องยืนหรือเดินบนพื้นแข็งๆนานๆ
- ออกกำลังกายโดยไม่ได้อบอุ่นร่างกาย
- การมีฝ่าเท้าแบนหรือผิดรูปจากปกติ
- การใช้รองเท้าที่ไม่ถูกลักษณะ


อาการและอาการแสดงของโรค
อาการโดยทั่วไปที่พบของการเกิดเอ็นฝ่าเท้าอักเสบคือ อาการปวดบริเวณส้นเท้าในช่วงเวลาตื่นตอนเช้าหรือเวลานั่งพักนานๆ แล้วก้าวเดิน อาการเหล่านี้จะดีขึ้นหลังจากได้เดินออกกำลังไปได้สักพัก หรือการหลีกเลี่ยงการเดินลงน้ำหนัก
ในการตรวจร่างกาย อาจจะสังเกตเห็นเรื่องของการบวมแดงของข้างที่มีอาการจะมีมากกว่าข้างปกติได้ การกระดกข้อเท้าขึ้นหรือกดส้นเท้าจะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่อข้อเท้า ข้อเข่าหรือหลังได้จากการเดินที่ผิดปกติ

การถ่ายภาพรังสีอาจเห็นกระดูกงอกได้ในบางคนแต่อาจไม่สัมพันธ์กับอาการปวดจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีทุกคน
โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยเอ็นฝ่าเท้าอักเสบจะค่อยๆ ดีขึ้น ด้วยการรักษาด้วยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด แต่อาจจะต้องใช้เวลารักษานานหลายเดือน แต่ถ้าอาการก็ยังไม่ดีขึ้น อาจจะต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ซึ่งจะต้องใช้เวลารักษาหลังผ่าตัดอีก 2 - 6 เดือนเป็นอย่างน้อย อาการจึงจะดีขึ้น
สำหรับผู้ที่มีอาการนานกว่า1ปี มีน้ำหนักมาก การรักษามักจะได้ผลไม่ค่อยดี ต้องใช้เวลานาน
แนวทางการรักษาด้วยตนเอง
1. ลดกิจกรรมที่ทำให้ปวดและควรออกกำลังที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้ามากนัก
2. บริหารยืดกล้ามเนื้อน่องและเอ็นฝ่าเท้า
3. นวดฝ่าเท้าหรือใช้ผ้าพันที่ฝ่าเท้า
4. ใส่รองเท้าที่เหมาะสมขนาดพอดีไม่หลวมเกินไป มีพื้นรองเท้าที่นุ่ม และมีแผ่นรองรับอุ้งเท้า
5. หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่า
6. ประคบด้วยความร้อนหรือความเย็น เช่นใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น ประคบบริเวณที่ปวดประมาณ 10 - 15 นาที หรือ ประคบด้วยความร้อน 4 นาที สลับกับความเย็น 1 นาที ก็ได้
7. ถ้าปวดมากรับประทานยาแก้ปวดประคบร้อน หรือใช้ยานวด
8. ลดน้ำหนัก
แนวทางการรักษาโดยแพทย์
- รับประทานยาแก้ปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
- ฉีดยาสเตียรอยด์ บริเวณจุดที่
- ทำกายภาพบำบัด 2 - 3 ครั้งต่ออาทิตย์ อย่างน้อย 6 อาทิตย์
- ใส่เฝือกชั่วคราวในตอนกลางคืน หรือ ถ้าเป็นมาก อาจต้องใส่เฝือกตลอดทั้งวัน
- ผ่าตัดทำก็ต่อเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้ว อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังรับการรักษาอย่างเต็มที่ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 6 - 9 เดือน หรือ เกิดจากเส้นประสาทบริเวณฝ่าเท้าถูกกดทับ
วิธีบริหาร
- เมื่อตื่นนอนให้นวดหรือประคบฝ่าเท้าและน่องด้วยความร้อน ก่อนเริ่มบริหาร
การบริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้อ
- ใช้ผ้าคล้องที่ปลายเท้าแล้วใช้มือดึงให้ข้อเท้ากระดกขึ้น ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อยลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง

- ยืนห่างจากผนังสัก 3-4 ฟุต มือยันผนังแล้วเอนตัวไปให้ชิดกับผนัง ค้างไว้ นับ 1-10 ทำซ้ำ 10 ครั้ง

- ยืนหรือ นั่ง แล้วใช้อุ้งเท้าเหยียบ วัสดุกลม ๆ
การบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ
- เกร็งกล้ามเนื้อ กระดกข้อเท้าขึ้นมากที่สุด ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อยลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง
- เกร็งกล้ามเนื้อ งอข้อเท้าลงมากที่สุด ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อยลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552

มือชาจากพังผืดกดรัด



อาการชาของมือเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเสื่อมของกระดูกต้นคอ ชาจากการเสื่อมของเส้นประสาทเองจากโรคประจำตัวต่างๆเช่น เบาหวาน
หรือเกิดจากการกดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือจากการหนาตัวปลอกหุ้มเอ็นบริเวณข้อมือ
การกดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือจากการหนาตัวปลอกหุ้มเอ็นบริเวณข้อมือ(Carpal tunnel syndrome; CTS) ถือเป็นสาเหตุที่พบบ่อยสาเหตุหนึ่ง มักจะพบบ่อยในช่วงวัยกลางคน(30-60ปี) ผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดได้มากกว่าผู้ชายประมาณ 2-3เท่า
สาเหตุของอาการชา 1. มีความผิดปกติของตัวเส้นประสาท เช่น เบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง 2. มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในอุโมงค์ข้อมือ เช่น ก้อนไขมัน ถุงน้ำ ก้อนเนื้องอก 3. การอักเสบของเยื่อบุข้อ เยื่อหุ้มเอ็นจากโรค เช่น เกาต์ รูมาตอยด์ 4. การบวมของเอ็นที่อยู่ภายในอุโมงค์จากการตั้งครรภ์ ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง 5. เกิดการหนาตัวของเยื่อพังผืดข้อมือ

อาการและอาการแสดงของโรค
อาการที่พบทั่วไป คือชามือข้างนั้นตามตำแหน่งที่เส้นประสาทไปเลี้ยง บางรายจะมีอาการปวดร้าวไปที่มือต้นแขนหรือไหล่ร่วมด้วย โดยทั่วไปจะมีอาการชาปลายนิ้วมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง บางคนจะมีอาการชาของนิ้วนางบางส่วนร่วมด้วย อาการชาจะเป็นๆหายๆ โดยจะมีอาการมากในเวลากลางคืน บางคนอาจต้องตื่นขึ้นมาสะบัดมือเพื่อให้อาการชามือดีขึ้น
นอกจากนี้จะมีอาการมากขึ้นในขณะทำงานที่ต้องใช้มือและข้อมือ และเมื่อมีการดำเนินของโรคต่อไปโดยไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการชาจะมีมากขึ้นถี่ขึ้น จนมีอาการตลอดเวลาและเริ่มมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ มือ
มีการลีบเล็กลง



การรักษา
ขึ้นกับอาการและความรุนแรงของโรค แนวทางการรักษามีทั้งการรักษาแบบไม่ผ่าตัดและการรักษาโดยการผ่าตัด
การรักษาแบบประคับประคอง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่มากนัก โดย 1. โดยการใส่อุปกรณ์พยุงข้อมืออยู่ในท่าทางที่เหมาะสม กระดกข้อมือขึ้นทางหลังมือเล็กน้อย 2. ปรับลักษณะการใช้งานของข้อมือให้เหมาะสม . หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวข้อมือมากเกินไป รวมทั้งการรับแรงกระแทก, การสั่นสะเทือน บริเวณข้อมือ4. รับประทานยาลดการอักเสบ ลดการบวมของเอ็นหรือเยื่อบุเอ็น 5. รับประทานยาวิตามินบี 6 6. การฉีดสเตียรอยด์ ในกรณีทานยาแล้วไม่ดีขึ้น และเป็นมาน้อยกว่า 1 ปี ได้ผลดีประมาณ 80% แต่มักจะไม่หายขาดการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งเป็นการรักษาที่หายขาด ด้วยการผ่าตัดขยายอุโมงค์ โดยตัดเยื่อพังผืด แก้ต้นเหตุ
ข้อแนะนำ - ถ้ามีอาการชาปลายนิ้ว ลองขยับข้อมือ นิ้วมือเบา ๆ ถ้ามีอาการดีขึ้นหายชาได้ - หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้มือและข้อมือมากโดยเฉพาะในท่าที่งอข้อมือมาก ๆ หรือการกระดกข้อมือมาก ๆ - การที่ใช้ข้อมือมากเกินไป การปวดชากลางคืน การเอาข้อมือวางบนหมอนอาจจะลดอาการปวดเนื่องจากเป็นท่าที่เส้นประสาทถูกกดทับน้อยลง -การบริหารมือและข้อมือเพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และเป็นการป้องกันอาการเจ็บปวดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ท่าบริหาร

วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2552

ข้อเข่าเสื่อม

ภาวะการเสื่อมสภาพของข้อเข่า มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อาจทำให้มีการผิดรูปของข้อเข่า ปวดในข้อเข่า ข้อเข่าติดขัดเหยียดงอได้ไม่เต็มที่ ซึ่งจะพบได้ว่าปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีด้วยกันหลายปัจจัยดังเช่น

  1. อายุที่มากขึ้น
  2. น้ำหนักมาก
  3. การใช้งานข้อเข่าอย่างหนักเป็นเวลานาน
  4. มีการบาดเจ็บหรือแตกหักของข้อเข่ามาก่อน
  5. เคยมีการอักเสบติดเชื้อในเข่า หรือมีภาวะข้ออักเสบ

อาการและอาการแสดงของโรค

  1. มีอาการปวดขณะใช้งาน
  2. ข้อเข่าติดขัด เหยียดงอเข่าได้ไม่เต็มที่
  3. เสียงดังในข้อเข่า (crepitus)
  4. ข้อเข่าผิดรูป
  5. ท่าทางการเดินที่ผิดปกติ

แนวทางการดูแลรักษา

  1. การลดน้ำหนัก
  2. การลดกิจกรรมที่ทำให้เข่ารับน้ำหนักมากหรือเกิดการเสื่อมเร็วเกินไป เช่นการนั่งยอง การนั่งขัดสมาธิ การเดินขึ้นลงบันได
  3. การบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า
  4. การใช้สนับเข่าเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง แต่ถ้าใช้เป็นเวลานานจะพบว่ากล้ามเนื้อรอบข้อเข่าลีบเล็กได้ จึงควรทำการบริหารข้อเข่าร่วมด้วยเสมอ
  5. การใช้ไม้เท้าแบ่งเบาภาระต่อข้อเข่า เพิ่มความมั่นคงในการยืนหรือเดิน
  6. การทำกายภาพบำบัดอาทิเช่นการประคบร้อน การกระตุ้นไฟฟ้า
  7. การรักษาโดยการกินยา การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า
  8. การผ่าตัดข้อเข่า

การออกกำลังกายกับโรคข้อเข่าเสื่อม

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อข้อเข่าแข็งแรง ลดแรงกระแทกภายในข้อเข่า กระตุ้นการเสริมสร้างกระดูก และช่วยชะลอความเสื่อมของข้อเข่า และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น และหาหนทางชะลอความเสื่อมของข้อเข่าให้ช้าที่สุด

ข้อแนะนำก่อนบริหารข้อเข่า
ควรเริ่มทำภายหลังจากอาการปวดเริ่มทุเลาลงแล้ว ซึ่งอาจจะบรรเทาอาการปวดโดย

  1. ประคบด้วยความร้อน หรือ ความเย็น ประมาณ 10 - 15 นาที หรือ ประคบด้วยความร้อน 4 นาที สลับกับ ความเย็น 1 นาที ก็ได้ อาจใช้ครีมนวดแก้ปวดร่วมด้วย แต่ต้องระวังอย่านวดแรงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อฟกช้ำมากขึ้น
    - รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
    - เลือกวิธีบริหารข้อเข่าที่เหมาะสม ในขณะที่ยังมีอาการปวดเข่าอยู่ ก็ควรบริหารข้อเข่าในท่าที่ ไม่ทำให้ปวดมากขึ้น เพื่อป้องกันเข่าติดและกล้ามเนื้อลีบ
  2. ขณะบริหาร ถ้าปวดมากขึ้น ให้ลดจำนวนครั้งลง หรือ หยุดพักการบริหารท่านั้นไว้ก่อน จนกว่าอาการปวดจะดีขึ้นแล้วค่อยเริ่มทำท่านั้นใหม่ เช่น ถ้าเกร็งกล้ามเนื้อค้างไว้ แล้วนับ 1-10 แล้วปวด ก็ลดลงนับแค่ 1-5 เป็นต้น
  3. ควรบริหารอย่างสม่ำเสมอทุกวัน และมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างน้อยวันละ 2 - 3 รอบ
  4. ขณะบริหารอย่ากลั้นหายใจ เพราะถ้ากลั้นหายใจ กล้ามเนื้อจะขาดออกซิเจน ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้าและปวดได้ การกลั้นหายใจขณะบริหาร มักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว สามารถป้องกันได้โดยออกเสียงนับดังขณะบริหาร
  5. ควรออกกำลังเข่าทั้งสองข้างสลับกันเสมอ เนื่องจากข้อเข่าเสื่อมมักจะมีอาการทั้งสองข้าง โดยที่ข้างใดข้างหนึ่งอาจจะมีอาการมากกว่าอีกข้าง ในผู้ที่ปวดเข่าข้างเดียว ข้อเข่าข้างที่ไม่ปวดต้องทำงานเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้ที่ปวดเข่าข้างเดียวก็ต้องออกกำลังมากขึ้นในข้างที่ไม่ปวดด้วย

ท่าบริหารข้อเข่า

ท่าที่ 1 นอนหงาย เหยียดเข่าตรงบนเตียงใช้หมอนหนุนใต้เข่า กดเข่าลงพร้อมกับกระดกข้อเท้าขึ้น เกร็งค้างไว้นับ 1-3 ช้าๆ แล้วปล่อย สลับข้าง ทำซ้ำให้ได้ข้างละ 10 ครั้ง

ท่าที่ 2 นอนหงายราบกับพื้น (เอาหมอนออก) เหยียดเข่าตรง กระดกข้อเท้าขึ้น ยกขาขึ้นมาพ้นพื้นตรงๆ ทีละข้าง เกร็งค้างไว้นับช้าๆ 1 - 10 พัก ทำสลับกันข้างละ 10 ครั้ง

ท่าที่ 3 นั่งห้อยขาข้างเตียง หรือห้อยขาที่เก้าอี้เหยียดเข่าตรงขึ้นมาเกร็งค้างไว้นับ 1-10 ทำสลับกันทีละข้าง ทำซ้ำให้ได้ข้างละ 12 - 24 ครั้ง หรือจนรู้สึกเมื่อย

ท่าที่ 4 ยืนตรงยกขาขึ้นให้สูงจากพื้น ประมาณ 30 เซนติเมตร โดยเข่าเหยียดตรง เกร็งค้างไว้นับช้าๆ 1 - 10 พัก ทำสลับกันข้างละ 10 ครั้ง
ถ้าไม่มีอาการปวด ให้ใช้น้ำหนักถ่วงที่บริเวณข้อเท้า โดยเริ่มจากน้ำหนัก 0.5 กิโลกรัม แล้วค่อยๆเพิ่มน้ำหนักขึ้นครั้งละ 0.5 กิโลกรัม จนถึง 5 กิโลกรัม แต่ถ้าเพิ่มน้ำหนักแล้วรู้สึกปวด ก็ให้ลดน้ำหนักลงเหลือเท่าที่ไม่ปวดแล้วทำต่อไป


สวัสดีครับ



เวปบล็อกนี้สร้างไว้เพื่อที่จะได้ให้ข้อแนะนำ ความรู้ทางการแพทย์ และสาระต่างๆเท่าที่สามารถจะให้ได้


หวังว่าคงได้รับคำแนะนำดีๆต่างๆจากผู้ผ่านเข้ามาชมนะครับ


ขอบคุณครับ