วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

โรคคอเอียงแต่กำเนิด(Congenital Muscular Torticollis)


คอเอียงเป็นลักษณะที่ศีรษะเอียงจากแนวกึ่งกลาง ไปด้านใดด้านหนึ่งอาการคอเอียงในเด็กที่พบได้บ่อย ส่วนมากร้อยละ 90 เป็นชนิดไม่ร้ายแรง         มักเป็นมาแต่กำเนิดสาเหตุ ส่วนใหญ่เป็นจากกล้ามเนื้อด้านข้างคอหดสั้นลง สาเหตุอื่นพบได้น้อย เช่น ผิดปกติที่ ระบบ สมอง ตา กระดูกคอ และการอักเสบบริเวณคอ โรคคอเอียงแต่กำเนิดสาเหตุจากกล้ามเนื้อ เป็นโรคคอเอียงในเด็กที่พบบ่อยที่สุด จากกล้ามเนื้อ ด้านข้างคอ (Sternocleidomastoid) ที่เกาะยึดระหว่าง กระดูกด้านหลังหู กับส่วนหน้าของกระดูกไหปลาร้า หดสั้นลง                                      ทำให้ศีรษะเอียงไปด้านที่กล้ามเนื้อหดสั้น แต่ ใบหน้าจะบิดหันไปด้านตรงข้าม อาจเริ่มสังเกตเห็นได้ ขณะอายุน้อย สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อนี้หดสั้นลง เชื่อว่า อาจมาจากเนื้อเยื่อบริเวณคอถูกกดขณะคลอดหรือทารก อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมในครรภ์ ทำให้ใยกล้ามเนื้อ ข้างคอเสียหาย กลายเป็นพังผืด กล้ามเนื้อหดสั้นลง โรคที่ อาจพบร่วมกับคอเอียงได้แก่ ข้อสะโพกผิดปกติ เท้าผิด ปกติ อาการคอเอียงอาจพบได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 1 เดือน หลังคลอด โดยเกือบครึ่งของผู้ป่วยมีก้อนคลำได้ที่ กล้ามเนื้อข้างคอด้านที่เอียง และก้อนจะค่อยๆ ยุบไป อาการคอเอียงนี้ถ้าเป็นไม่มากอาจสังเกตเห็นยากจึงไม่ได้ พามาพบแพทย์ตั้งแต่แรก การปล่อยให้มีคอเอียงอยู่นาน อาจทำให้กระโหลกศีรษะ หรือใบหน้าด้านที่กดกับพื้นที่ นอนแบนกว่าอีกด้าน ศีรษะบิดเบี้ยวไม่สมดุล อย่างไร ก็ตามอาการคอเอียงอาจดีขึ้นได้เองในบางราย การวินิจฉัยโรคคอเอียง ถ้าระบุสาเหตุไม่ได้ชัด จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติม เช่นภาพรังสีกระดูกคอ หรือ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่นจักษุแพทย์                                          
สาเหตุ เชื่อว่าการคลอดลาบากเป็นเหตุปัจจัยทาให้กล้ามเนื้อคอของทารกถูกดึงอย่างแรงจนเกิดเลือดออก บวม เป็นก้อนในชั้นกล้ามเนื้อ ซึ่งทาให้กล้ามเนื้อคอข้างนั้นหดสั้นลง ไม่สามารถยืดได้เป็นปกติ จึงดึงรั้งใบหน้าด้านข้างและศีรษะข้างเดียวกับก้อนที่คอให้เอียงลงมา              
อาการ
     
  1. บก้อนที่คอบริเวณส่วนหน้าด้านข้าง มักพบตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุประมาณ 2 เดือน
  2. ศีรษะจะเอียงลงมาด้านเดียวกับก้อนที่คอ
  3. ทารกจะหันใบหน้าและคางไปด้านตรงข้ามกับก้อนที่คอ
  4. ไม่สามารถทาให้ศีรษะของทารกตรงได้เหมือนทารกปกติ  
  5.  ถ้าทารกไม่ได้รับการดูแลรักษาเป็นเวลานาน รูปทรงของใบหน้าทั้งสองข้างจะไม่เท่ากัน อาจเกิดคอเอียงถาวรได้                                 การวินิจฉัย                                                                                                                           ทารกที่มีประวัติคลอดลาบาก เช่น ใช้คีมหรือเครื่องดูดช่วยคลอด ต้องผ่าตัดช่วยคลอด หลังคลอดบิดามารดาหรือญาติคลาพบก้อนที่คอส่วนหน้าด้านข้าง ข้างใดข้างหนึ่ง ก้อนมีลักษณะแข็ง รูปไข่ ก้อนเดียวขนาดประมาณ 3 เซนติเมตร ไม่ยุบหายไปได้เอง ร่วมกับสังเกตุเห็นศีรษะเอียงไปด้านเดียวกับก้อนที่คอ ตั้งตรงไม่ได้ และจะหันหน้าไปทางด้านตรงข้ามกับก้อนตลอดเวลา                                                                    
    การรักษา                                                                                                                                                 
  1.  การยืดกล้ามเนื้อข้างคอที่หดสั้น ส่วนใหญ่ได้ผลดีเมื่อทำในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ผู้ดูแลควรเรียนรู้ ถึงวิธีการยืดที่ถูกต้อง เช่นจาก นักกายภาพบำบัด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อเด็ก โดยเฉพาะการยืดด้วยวิธีดัด (passive stretch) ควรหยุดทำ ถ้าเด็กดิ้นหรือฝืน การทำโดยจัดศีรษะผู้ป่วยอยู่ในท่า เงยหน้าเล็กน้อย เช่นนอนหงายบนตัก จัดให้หูข้าง ตรงข้ามกับกล้ามเนื้อหดสั้นมาสัมผัสที่ไหล่ข้างเดียวกัน และอีกวิธีโดยหันหน้าจัดให้คางสัมผัสกับไหล่ข้างที่มี กล้ามเนื้อหดสั้น แต่ละท่ายืดค้างนานประมาณนับเลข 1-10 ต่อครั้ง ติดต่อกัน 15-20 ครั้งเป็น 1 รอบ ทำประมาณ 4-6 รอบในแต่ละวัน การยืดแบบที่ให้เด็กหันศีรษะเอง (active stretch) วิธีนี้มีความปลอดภัยมากกว่า โดยต้องหาวิธีการที่จะล่อ ให้เด็กหันหน้ามาด้านที่มีคอเอียงที่มีกล้ามเนื้อหดสั้น วิธีการที่นิยมใช้ได้ผลดี เช่นการให้นม หรือล่อให้มองตามในสิ่งที่สนใจเช่นของเล่นต่างๆ การจัดตำแหน่ง ศีรษะขณะนอนหลับ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นการยืดกล้าม เนื้อ ก็เป็นอีกแนวทางที่มีการใช้กัน แต่ควรได้รับการ แนะนำถึงข้อควรระวังก่อนนำมาใช้ การใช้อุปกรณ์พยุง (Orthosis) ปรับตำแหน่ง ศีรษะ ยังไม่ใช้กันแพร่หลายนัก เนื่องจากปัญหาในการ จัดหาอุปกรณ์ และต้องใช้ในเด็กที่โตพอสมควรแล้ว                                                                                                                     
  2.  การผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหากล้ามเนื้อหดสั้น ถ้ายืดกล้ามเนื้อหดสั้นไม่ได้ผลหลังอายุ 1 ปีควร รักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อให้มีสมดุลของศีรษะและ ใบหน้าดีขึ้น การผ่าตัดมักได้ผลดีพอสมควร อายุที่ เหมาะสมที่สุดคือ 1-4 ปี ในผู้ป่วยที่มีอายุมากขึ้น การผ่าตัดอาจได้ผลไม่เต็มที่ การผ่าตัดทำได้หลายวิธี วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือการตัดปลายยึดเกาะของ กล้ามเนื้อด้านข้างคอ ทั้งสองปลาย (bipolar release) หลังผ่าตัด ผู้ป่วยบางรายอาจต้องอุปกรณ์พยุง ต่างๆ ร่วมด้วย และมักต้องการการยืดกล้ามเนื้อต่ออีก เพื่อให้คอตรงมากขึ้น และป้องกันการเป็นซ้ำ