วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557
โรคคอเอียงแต่กำเนิด(Congenital Muscular Torticollis)
คอเอียงเป็นลักษณะที่ศีรษะเอียงจากแนวกึ่งกลาง ไปด้านใดด้านหนึ่งอาการคอเอียงในเด็กที่พบได้บ่อย ส่วนมากร้อยละ 90 เป็นชนิดไม่ร้ายแรง มักเป็นมาแต่กำเนิดสาเหตุ ส่วนใหญ่เป็นจากกล้ามเนื้อด้านข้างคอหดสั้นลง สาเหตุอื่นพบได้น้อย เช่น ผิดปกติที่ ระบบ สมอง ตา กระดูกคอ และการอักเสบบริเวณคอ โรคคอเอียงแต่กำเนิดสาเหตุจากกล้ามเนื้อ เป็นโรคคอเอียงในเด็กที่พบบ่อยที่สุด จากกล้ามเนื้อ ด้านข้างคอ (Sternocleidomastoid) ที่เกาะยึดระหว่าง กระดูกด้านหลังหู กับส่วนหน้าของกระดูกไหปลาร้า หดสั้นลง ทำให้ศีรษะเอียงไปด้านที่กล้ามเนื้อหดสั้น แต่ ใบหน้าจะบิดหันไปด้านตรงข้าม อาจเริ่มสังเกตเห็นได้ ขณะอายุน้อย สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อนี้หดสั้นลง เชื่อว่า อาจมาจากเนื้อเยื่อบริเวณคอถูกกดขณะคลอดหรือทารก อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมในครรภ์ ทำให้ใยกล้ามเนื้อ ข้างคอเสียหาย กลายเป็นพังผืด กล้ามเนื้อหดสั้นลง โรคที่ อาจพบร่วมกับคอเอียงได้แก่ ข้อสะโพกผิดปกติ เท้าผิด ปกติ อาการคอเอียงอาจพบได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 1 เดือน หลังคลอด โดยเกือบครึ่งของผู้ป่วยมีก้อนคลำได้ที่ กล้ามเนื้อข้างคอด้านที่เอียง และก้อนจะค่อยๆ ยุบไป อาการคอเอียงนี้ถ้าเป็นไม่มากอาจสังเกตเห็นยากจึงไม่ได้ พามาพบแพทย์ตั้งแต่แรก การปล่อยให้มีคอเอียงอยู่นาน อาจทำให้กระโหลกศีรษะ หรือใบหน้าด้านที่กดกับพื้นที่ นอนแบนกว่าอีกด้าน ศีรษะบิดเบี้ยวไม่สมดุล อย่างไร ก็ตามอาการคอเอียงอาจดีขึ้นได้เองในบางราย การวินิจฉัยโรคคอเอียง ถ้าระบุสาเหตุไม่ได้ชัด จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติม เช่นภาพรังสีกระดูกคอ หรือ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่นจักษุแพทย์
วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
โรคเกาต์ เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกัน ของกรดยูริกภายในข้อ และประกอบกับการที่มีปริมาณกรดยูริกสูงด้วย คนแต่ละวัย ก็มีระดับกรดยูริกในเลือดที่แตกต่างกันได้ เช่น ผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน จะมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าคนในวัยอื่นๆ และนอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคเกาต์ มากกว่าผู้หญิงอีกด้วย
โดยปกติแล้ว ร่างกายจะได้กรดยูริกมาจาก 2 แหล่ง คือ
1.ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเอง โดยการสลายตัวของเซลล์ตามอวัยวะต่างๆ แต่ในบางคนที่ป่วยเป็นโรค เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ธาลัสซีเมีย จะทำให้มีการสลายตัวของเซลล์ ในร่างกายที่มาผิดปกติ
2.จากการกินอาหารบางชนิดที่สารพิวรีนสูง ซึ่งสารชนิดนี้เมื่อกินเข้าไปแล้ว จะย่อยสลายกลายเป็นกรดยูริก ซึ่งสารพิวรีนนี้พบมากใน เนื้อสัตว์ปีก เช่น เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่างๆ
คนที่เป็นโรคเกาต์ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการจะค่อยๆ กำเริบ โดยเจ็บปวดที่ข้อเดิมก่อน แล้วจะเป็นที่ข้ออื่นๆ ตามมา จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อทั่วร่างกาย อาการปวด จะถี่ขึ้นและนานขึ้น จนเกิดอาการปวดตลอดเวลา ถ้าควบคุมไม่ได้ จะพบว่า ข้อที่เคยอักเสบบ่อยๆ กลายเป็นปุ่มก้อนขึ้นมา เนื่องจากการสะสมของ กรดยูริกภายในข้อจำนวนมาก จนบางครั้ง ข้อที่ปวดนั้น เกิดการแตกออก และมีสารขาวๆ คล้ายชอล์ก หรือยาสีฟัน ไหลออกมากลายเป็นแผลเรื้อรัง และในที่สุดข้อต่างๆ จะค่อยๆ พิการ และใช้งานไม่ได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดนิ่วในไตตามมาได้อีกด้วย
• อาหารที่มีพิวรีนน้อย ได้แก่ ธัญพืชต่างๆ ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ผัก และผลไม้เกือบทุกชนิด (0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
• อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง ได้แก่ ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ถั่วลันเตา หน่อไม้ ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม (50-100 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
• อาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง ไข่ปลา น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน กะปิ ชะอม กระถิน สะเดา เห็ด (150 มิลลิกรัมขึ้นไปต่ออาหาร 100 กรัม)
วิธีป้องกันและบรรเทา อาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์ที่ดีที่สุด คือ
การระมัดระวัง ในการเลือกรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีพิวรีนสูง เพราะว่าจะทำให้เกิด การอักเสบของข้อขึ้นอีก อาหารที่ผู้เป็นโรคเกาต์ ควรรับประทานให้มากคือ
1. อาหารจำพวกข้าว แป้ง เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานเพียงพอ ในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่ต้องเผาผลาญโปรตีน ที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อ เพื่อให้เป็นพลังงาน เพราะว่าการเผาผลาญโปรตีนในลักษณะนี้ จะทำให้มีการสลายกรดยูริกออกมา ในกระแสเลือดมากขึ้น
2. คนเป็นโรคเกาต์ ควรระวังไม่รับประทานอาหาร จำพวกเนื้อสัตว์มากเกินไป เพราะว่าเนื้อสัตว์ เป็นแหล่งของโปรตีน ทำให้เกิดกรดยูริกได้มาก เช่นเดียวกันกับการทานอาหารไม่เพียงพอ แล้วร่างกายใช้โปรตีน ที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อนั่นเอง จะทำให้เกิดอาการกำเริบได้
3. การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยป้องกันการสะสมของกรดยูริก และทำให้เกิดการขับกรดยูริก ทางปัสสาวะมากขึ้น และสามารถป้องกัน โรคนิ่วในไตได้อีกด้วย 4. นอกจากนี้ การรับประทานผัก และผลไม้ชนิดต่างๆ ให้มากขึ้นก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยให้ปัสสาวะมีสภาวะเป็นด่าง ลดความเป็นกรด ส่งผลให้เกิดการขับปัสสาวะมากขึ้น เมื่อรู้ว่าเป็นโรคเกาต์แล้ว ควรปฏิบัติตนอย่างไร กินอาหารอย่างไร อะไรที่กินได้ อะไรที่ควรหลีกเลี่ยง ก็จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้ และช่วยป้องกัน ไม่ให้เกิดอาการเรื้อรังได้อีกเช่นกัน ดังนั้น หันมาใส่ใจกับอาหาร ที่เรากินกันเสียตั้งแต่วันนี้จะดีกว่า เพื่อจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคร้ายต่างๆ
1.ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเอง โดยการสลายตัวของเซลล์ตามอวัยวะต่างๆ แต่ในบางคนที่ป่วยเป็นโรค เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ธาลัสซีเมีย จะทำให้มีการสลายตัวของเซลล์ ในร่างกายที่มาผิดปกติ
2.จากการกินอาหารบางชนิดที่สารพิวรีนสูง ซึ่งสารชนิดนี้เมื่อกินเข้าไปแล้ว จะย่อยสลายกลายเป็นกรดยูริก ซึ่งสารพิวรีนนี้พบมากใน เนื้อสัตว์ปีก เช่น เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่างๆ
คนที่เป็นโรคเกาต์ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการจะค่อยๆ กำเริบ โดยเจ็บปวดที่ข้อเดิมก่อน แล้วจะเป็นที่ข้ออื่นๆ ตามมา จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อทั่วร่างกาย อาการปวด จะถี่ขึ้นและนานขึ้น จนเกิดอาการปวดตลอดเวลา ถ้าควบคุมไม่ได้ จะพบว่า ข้อที่เคยอักเสบบ่อยๆ กลายเป็นปุ่มก้อนขึ้นมา เนื่องจากการสะสมของ กรดยูริกภายในข้อจำนวนมาก จนบางครั้ง ข้อที่ปวดนั้น เกิดการแตกออก และมีสารขาวๆ คล้ายชอล์ก หรือยาสีฟัน ไหลออกมากลายเป็นแผลเรื้อรัง และในที่สุดข้อต่างๆ จะค่อยๆ พิการ และใช้งานไม่ได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดนิ่วในไตตามมาได้อีกด้วย
• อาหารที่มีพิวรีนน้อย ได้แก่ ธัญพืชต่างๆ ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ผัก และผลไม้เกือบทุกชนิด (0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
• อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง ได้แก่ ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ถั่วลันเตา หน่อไม้ ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม (50-100 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
• อาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง ไข่ปลา น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน กะปิ ชะอม กระถิน สะเดา เห็ด (150 มิลลิกรัมขึ้นไปต่ออาหาร 100 กรัม)
วิธีป้องกันและบรรเทา อาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์ที่ดีที่สุด คือ
การระมัดระวัง ในการเลือกรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีพิวรีนสูง เพราะว่าจะทำให้เกิด การอักเสบของข้อขึ้นอีก อาหารที่ผู้เป็นโรคเกาต์ ควรรับประทานให้มากคือ
1. อาหารจำพวกข้าว แป้ง เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานเพียงพอ ในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่ต้องเผาผลาญโปรตีน ที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อ เพื่อให้เป็นพลังงาน เพราะว่าการเผาผลาญโปรตีนในลักษณะนี้ จะทำให้มีการสลายกรดยูริกออกมา ในกระแสเลือดมากขึ้น
2. คนเป็นโรคเกาต์ ควรระวังไม่รับประทานอาหาร จำพวกเนื้อสัตว์มากเกินไป เพราะว่าเนื้อสัตว์ เป็นแหล่งของโปรตีน ทำให้เกิดกรดยูริกได้มาก เช่นเดียวกันกับการทานอาหารไม่เพียงพอ แล้วร่างกายใช้โปรตีน ที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อนั่นเอง จะทำให้เกิดอาการกำเริบได้
3. การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยป้องกันการสะสมของกรดยูริก และทำให้เกิดการขับกรดยูริก ทางปัสสาวะมากขึ้น และสามารถป้องกัน โรคนิ่วในไตได้อีกด้วย 4. นอกจากนี้ การรับประทานผัก และผลไม้ชนิดต่างๆ ให้มากขึ้นก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยให้ปัสสาวะมีสภาวะเป็นด่าง ลดความเป็นกรด ส่งผลให้เกิดการขับปัสสาวะมากขึ้น เมื่อรู้ว่าเป็นโรคเกาต์แล้ว ควรปฏิบัติตนอย่างไร กินอาหารอย่างไร อะไรที่กินได้ อะไรที่ควรหลีกเลี่ยง ก็จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้ และช่วยป้องกัน ไม่ให้เกิดอาการเรื้อรังได้อีกเช่นกัน ดังนั้น หันมาใส่ใจกับอาหาร ที่เรากินกันเสียตั้งแต่วันนี้จะดีกว่า เพื่อจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคร้ายต่างๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)